– สาขาเกษตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปี พ.ศ. 2558

 

 นายทรงวุฒิ  คำนาน

บ้านเลขที่ 29 หมู่ 10 ตำบลป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน

DSCF1004

พื้นที่ในการประกอบอาชีพ 3 ไร่ 2 งาน

 ความเป็นมา

                ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของนายทรงวุฒิ คำนาน ตั้งอยู่บ้านพนาไพร หมู่ที่ 10 ตำบลป่าแลวหลวง อำเอสันติสุข จังหวัดน่าน เดิมนายทรงวุฒิ คำนาน อดีตรับราชการอาสาสมัครรักษาดินแดนที่ 11  อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ได้เป็นคนใฝ่รู้ศึกษา ได้มาใช้บริการห้องสมุดประชาชนอำเภอสันติสุข อ่านหนังสือเกี่ยวกับอาชีพในเรื่องการทำเกษตรผสมผสาน จึงเป็นจุดเริ่มต้นกระตุ้นความคิดที่จะทำอาชีพเกษตรผสมผสานอย่างจริงจัง ประกอบกับมีพื้นที่ที่จะดำเนินการ จึงได้นำพืชผัก ไม้ผลบางอย่างที่หาได้ในพื้นที่นำไปปลูกในสวนปลายปี พ.ศ. 2552 ได้ลาออกจากราชการ พอปี พ.ศ. 2553 เนื่องจากได้ส่งบุตรเรียนจบ ประกอบกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ได้พาไปศึกษาดูงานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่อำเภอเทิง และอำเภอแม่จัน ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ยิ่งทำให้เกิดความคิดที่อยากทำมากขึ้น หลังจากไปดูงานกลับมาได้เริ่มปรับระบบการเกษตรของตนเองเข้าสู่ทฤษฎีใหม่ โดยได้ปลูกพืชล้มลุกและปลูกลิ้นจี่ จำนวน 130 ต้น แต่ต้องเจอสภาพปัญหาการตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย สถานที่ขายไกลอยู่ในตัวอำเภอเวียงสา จังหวัดน่านและอยู่ในช่วงผลผลิตตกต่ำ ซึ่งไม่คุ้มทุนและต้องดูแลเป็นพิเศษมีแต่แมลงมาก่อกวน หลังจากนั้นมีแนวคิดปลูกมะนาว จำนวน 100 ต้น มะนาวเป็นพืชที่ปลุกง่าย บริหารจัดการง่าย ไม่ค่อยมีศัตรูพืชมารบกวน  และ พ.ศ. 2554 สหกรณ์การเกษตรอำเภอสันติสุขได้นำพาสมาชิกสหกรณ์ไปศึกษาดูงานการปลูกปาล์มหนึ่งในนั้น มีนายทรงวุฒิ คำนาน ได้ร่วมศึกษาดูงานเลยเกิดความคิดที่จะปลูกปาล์มเพราะ 3 ปี แรกบริษัทรับซื้อปาล์มเป็นผู้ลงทุนให้หมดทุกอย่าง ได้ปลูกปาล์ม จำนวน 88 ต้น และมีบ่อเลี้ยงปลา สุกร ไก่พื้นเมือง เป็ดพันธุ์ไข่ ไก่พันธุ์ไข่ ปลูกไม้ผล พืชผักสวนครัว โดยได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากเอกสาร เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดน่าน และต่างจังหวัดแล้วนำมาปฏิบัติ เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิตการเกษตรในสวนของตนเองจนประสบความสำเร็จดังที่หวัง

ประกอบเกษตรกรรมด้านพืช

– มะนาวในบ่อซีเมนต์ จำนวน 100 ต้น ปลูกพ.ศ. 2542 รายได้ขายมะนาวตลอดฤดูกาล     10,000 บาท/เดือน

 (ห้ามใส่มูลวัว ควาย เพราะทำให้เกิดโรคแคงเกอร์ มะนาวไม่มีน้ำ)

DSCF0088

          ข้อดีการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์

  1. สามารถบังคับให้มะนาวออกลูกนอกฤดูหรือตลอดทั้งปีได้ง่าย
  2. ไม่เปลืองแรงงานหรือเกิดค่าใช้จ่ายในการเตรียมแปลงหรือปรับพื้นที่
  3. ง่ายต่อการดูแล และการให้น้ำมีประสิทธิภาพ
  4. ป้องกันโรคบางชนิดได้ง่ายจากสภาพดินที่ไม่เหมาะสม
  5. เหมาะสำหรับการปลูกไว้รับประทานเองหรือเพื่อส่งจำหน่าย
  6. สามารถใช้เป็นไม้ประดับได้อีกทาง

 

 ปาล์ม จำนวน 88 ต้น ปลูกพ.ศ. 2554 เก็บเกี่ยว ทุกวันที่ 1 และวันที่ 16 ของทุกเดือน รายได้ 5,000-6,000 บาท/เดือน

(วิธีเพิ่มผลผลิตต้นปาล์มชอบกินอาหารเสริม มูลสัตว์ (ใส่ได้ตลอดปี) ปุ๋ยเคมี ใส่เดือน พ.ค.-มิ.ย.ของทุกปี ช่วยฤดูฝน)

 

12038441_916492565070598_8851380182202750985_n

ประกอบเกษตรกรรมด้านสัตว์

หมูแม่พันธุ์ หมูขุน พ.ศ. 2537 รายได้ 17,500/เดือน

          เลี้ยงตามฤดูกาล ภูมิต้านทานโรค โตไว เนื้อแดงมีคุณภาพ อาหารที่เหมาะตามฤดูกาล

ฤดูร้อน             = หมูพันธุ์ดูร็อก , มูพันธุ์ลาร์จไวต์, หมูพันธุ์แลนด์เรซ

ฤดูหนาว        = พันธุ์เปียแตรงผสมหมูพันธุ์เพียวเทียน

ฤดูฝน            = หมูพันธุ์ดูร็อกผสมพันธุ์ลาร์จไวท์

(สูตรอาหาร = อาหารสำเร็จรูป + ผักต้ม (คลอดลูกง่าย) +สมุนไพรพื้นบ้าน+รำ)

DSCF0080

ไก่พันธุ์ไข่ พ.ศ. 2552 รายได้ขายไข่ไก่ 300/วัน 9,000 บาท/เดือน

 

DSCF0107

 

เลี้ยงไก่พื้นเมือง เป็ดและ ไก่งวง ในพื้นที่เดียวกัน อย่างเกื้อกูลกัน

DSCF0090

สระเลี้ยงปลา จำนวน 2 บ่อ ปลาขาย 1 ครั้ง/ปี

DSC01638

แก๊สชีวภาพ

นำมูลสุกรหมักเป็นแก๊สชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือน ลดต้นทุนในการผลิตและครัวเรือน

DSCF0111

 

เลี้ยงจิ้งหรีดไว้บริโภคเหลือจึงนำไปขาย    

DSCF0101     

เผาถ่านใช้เอง (เตาเผาถ่านโดยใช้ดิน)   และได้น้ำควันไม้จากการเผาถ่านมาใช้พ่นผักสวนครัวแทนสารเคมี

 DSC01679

 

องค์ความรู้ด้านพืช

 วิธีการผลิตฮอร์โมนสกัดมูลสุกร

สิ่งที่ต้องเตรียม

  1. มูลสุกรตากแห้ง จำนวน 1 กิโลกรัม
  2. น้ำสะอาด จำนวน 10 ลิตร
  3. ถังพลาสติก 1 ใบ
  4. ตาข่ายพลาสติกเย็บเป็นถุงสำหรับห่อ

          วิธีการ นำมูลสุกรแห้งบรรจุตาข่ายไนลอน(มุ้งเขียว)จำนวน 1 กิโลกรัม แช่น้ำ 10 ลิตร (ถ้าต้องการปริมาณที่มากขึ้นใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 10) แล้วหมักทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วยกถุงบรรจุมูลสุกรออกจากถัง(นำไปใส่ต้นไม้เป็นปุ๋ยบำรุงดินได้) จะได้น้ำสกัดมูลสุกรที่ใส พร้อมนำไปใช้ได้ ปริมาณประมาณ 8 ลิตร(หัวเชื้อ) สามารถนำไปขยายใช้ได้ หรือจะหมักต่อไปอีกก็เก็บได้นาน ยิ่งเก็บนานน้ำสกัดที่ได้จะยิ่งใสขึ้น ธาตุอาหารและประโยชน์มากขึ้น และกลิ่นลดลง

          วิธีการใช้ นำน้ำสกัดมูลสุกรไปมีทั้งธาตุอาหารและจุลินทรีย์เจือจางด้วยน้ำ 1 ต่อ 10 ถึง 1 ต่อ 20 ลิตร ซึ่งจะได้น้ำสกัดพร้อมใช้ปริมาณ 80-160 ลิตร ใช้ได้ทันที ใช้ทั้งรดต้นพืช หรือฉีดพ่นทางใบก็ได้ นอกจากนี้ยังใช้แช่เมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อให้งอกเร็วขึ้นแข่งกับวัชพืชได้ นอกจากนี้ยังใช้กับพืชผัก พืชสวน พืชไร่ ไม้ดอกและไม้ผลได้ด้วย

 

การตัดแต่งกิ่งต้นไม้

เหมาะสมตัดแต่งกิ่งข้างแรม 1 ค่ำ- 8 ค่ำ (เพราะพืชอยู่ในช่วงระหว่างคายน้ำแผลที่ตัดแต่งจะหายเร็ว

การขยายพันธุ์ ตอน เสียบ ทาบ

ควรทำข้างแรม 1- ค่ำ-14 ค่ำ

การใส่ปุ๋ยทางดิน

ข้างขึ้น 1 ค่ำ – 8 ค่ำ (พืชกำลังดูดน้ำ ดูดอาหาร)

การใส่ปุ๋ยทางใบ

ข้างขึ้น 9 ค่ำ – 15 ค่ำ (พืชเริ่มอิ่มตัวจากการสะสมอาหาร)

การกำจัดวัชพืช

ทำในช่วง ข้างขึ้น 9 ค่ำ – 15 ค่ำ (ตัดวงจรอาหารที่ไปเลี้ยงวัชพืช)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประกอบเกษตรกรรม      

  1. ด้านพืช

                        – ปลูกผักสวนครัว

                        – มะนาวจำนวน 100 ต้น

                        – พริก

                        – ปาล์มน้ำมัน จำนวน 88 ต้น

  1. ด้านสัตว์

                        – เลี้ยงหมูขุน, หมูแม่พันธุ์

                        – เลี้ยงไก่พื้นเมือง, ไก่พันธุ์ไข่ ,ไก่งวง, เป็ดเทศ,

                        – เลี้ยงกบ

                        – เลี้ยงจิ้งหรีด

  1. ประมง

                        – เลี้ยงปลา 2 บ่อ

 

ประกอบอาชีพทำเกษตร

  1. การเลี้ยงสุกร ปี 2552
  2. ปลูกปาล์มน้ำมัน ปี 2554
  3. เลี้ยงไก่ ปี 2552
  4. เลี้ยงปลา ปี 2552
  5. ผักสวนครัว ปี 2531
  6. เลี้ยงกบ ปี 2535