ยุทธศาสตร์สภาเกษตรกรแห่งชาติ ปี 2560 – 2564
วิสัยทัศน์
“สภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นสถาบันแกนหลักประสานการพัฒนาภาคเกษตรกรรม มุ่งให้เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรมีความเข้มแข็งในอาชีพ”
ยุทธศาสตร์
- สร้างระบบการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- พัฒนาขีดความสามารถการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมที่สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม
- การสร้างความเข็มแข็งแก่เกษตรกร องค์กรเกษตรกร ยุวเกษตรกรและเครือข่าย
- สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาสินค้าของเกษตรกรสู่เกษตรอุตสาหกรรม
กลยุทธ์
1.1 พัฒนากระบวนการรับรู้ข้อเท็จจริงของปัญหานำปัญหามาวิเคราะห์จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและเสนอหน่วยงานรวมทั้งติดตาม
1.2เพิ่มประสิทธิภาพพนักงานสมาชิกสภาเกษตรกรและคณะผู้ปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกรโดยรวดเร็ว
1.3การใช้เทคโนโลยีเครื่องมือ อุปกรณ์ในการสำรวจจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเพื่อแก้ไข
2.1พัฒนากระบวนการรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาในพื้นที่การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อจัดทำโครงการ/กิจกรรม
2.2พัฒนาบุคลากรพนักงานสมาชิกสภาเกษตรกรและคณะผู้ปฏิบัติงาน ด้านการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรม
2.3การประสานหน่วยงานและภาคีภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อน โครงการ/กิจกรรมไปสู่การปฏิบัติ
3.1ส่งเสริมให้เกษตรกรมีองค์ความรู้ ด้านการจัดการฟาร์มสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติและแบ่งปัน
3.2ส่งเสริมให้กรรมการและพนักงานขององค์กรเกษตรกรและกลุ่มยุวเกษตรกรมีความรู้ในการจัดการองค์กรและการดำเนินธุรกิจ/กิจกรรมรวมทั้งการสร้างเครือข่าย
3.3ติดตามและร่วมการดำเนินงานตามนโยบายเกษตรกรรมของส่วนราชการและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
4.1การจัดตั้งและสร้างความเข็มแข็งของเกษตรกร องค์กรเกษตรกรรายสินค้ารวมทั้งการสร้างเครือข่าย
4.2การใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร สู่การแปรรูปขั้นต้นและSME เกษตร
4.3การพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่โดยการใช้ เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมขั้นสูง
แนวทางการพัฒนา ยุทธศาสตร์ที่ 1
กลยุทธ์ ที่ 1.1พัฒนากระบวนการรับรู้ข้อเท็จจริงของปัญหานำปัญหามาวิเคราะห์จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและเสนอหน่วยงานรวมทั้งติดตามผลการช่วยเหลือ
- พัฒนาการรับรู้ข้อเท็จจริงของปัญหา
ขั้นที่ 1 ลงพื้นที่รวบรวมข้อเท็จจริงปัญหา
ขั้นที่ 2 สกจ.ประสานหน่วยงานรับผิดชอบปัญหาเรื่องนั้นๆ เพื่อแนะนำเกษตรกรเตรียมเอกสารก่อนยื่นเรื่อง
ขั้นที่ 3 สกจ.วิเคราะห์ข้อมูลปัญหา ความต้องการ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางพัฒนาแก้ไขปัญหา จึงควรมีสาระสำคัญครบ
ขั้นที่ 4 สภจ./สกจ. ดำเนินการแก้ไขปัญหาเอง ส่งต่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบแก้ไขส่งต่อ สภช./ กรม/กระทรวง/นายกรัฐมนตรี/สภานิติบัญญัติ
กลยุทธ์ ที่ 1.2 เพิ่มประสิทธิภาพพนักงาน สมาชิกสภาเกษตรกรและคณะผู้ปฏิบัติงาน ในการแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกรโดยรวดเร็ว
1.2.1 เกษตรกรสามารถยื่นเรื่องเดือดร้อนผ่านทางเครือข่ายการสื่อสาร เครือข่ายสภาเกษตรกรตำบล/อำเภอ
1.2.2 คณะผู้ปฏิบัติงานรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงของปัญหา
1.2.3 ส่งส่งเรื่องให้หน่วยงานรับผิดชอบแก้ไข
กลยุทธ์ ที่ 1.3 การใช้เทคโนโลยีเครื่องมือ อุปกรณ์ในการสำรวจ จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหา
1.3.1 จัดตั้งศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวางแผน และแก้ไขปัญหาทางการเกษตรประจำจังหวัด GPS, GIS ข้อมูลแหล่งอื่น เช่น Agri-map
1.3.2 สร้างเครือข่ายการสื่อสาร เช่น Facebook, Line Group เพื่อแก้ไขปัญหาเชื่อมระดับอำเภอและตำบล เครือข่ายตลาด โซ่อุปทาน เกษตรอินทรีย์
แนวทางการพัฒนา ยุทธศาสตร์ที่ 2
กลยุทธ์ ที่ 2.1 พัฒนากระบวนการรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาในพื้นที่ การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อจัดทำโครงการ/กิจกรรม
– ใช้ข้อมูลสานสนเทศภูมิศาสตร์ (น้ำ) และข้อมูลการเกษตรอื่นๆ สำรวจปัญหาความต้องการตลาด
– วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภาคการเกษตร
– ประชุมระดมความคิดเห็น ภาคีภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
– ปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงอาชีพเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมปัญหาเกษตรอื่นๆ
– จัดทำโครงการที่ชัดเจน
กลยุทธ์ ที่ 2.2 พัฒนาบุคลากร พนักงาน สมาชิกสภาเกษตรกร และคณะผู้ปฏิบัติงาน ด้านการจัดทำแผน
- สกช. จัดฝึกอบรม เกี่ยวกับ “ กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมให้มีคุณภาพ”
กลยุทธ์ที่ 2.3 การประสานหน่วยงานและภาคีภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อน โครงการ/กิจกรรมไปสู่การปฏิบัติรวมทั้งติดตามผล
การจัดทำแผนพัฒนาตำบล
- ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอาชีพเกษตรกรสู่องค์กรรายสินค้า
- ปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่
- โครงการเพื่อพัฒนาเกษตรกรแบบบูรณาการ โดยประสานหน่วยงาน ภาคีต่างๆเข้าร่วมระดมความคิดเห็น
ควรติดตามความก้าวหน้าโครงการที่สำคัญ เพื่อทราบว่าการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และการใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามแผนหรือไม่ ส่วนจังหวัดที่มีศักยภาพความพร้อม สามารถประเมินโครงการที่สำคัญ เพื่อทราบว่าบรรลุผลเพียงใด ปัญหาอุปสรรค ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับ นำไปปรับปรุงโครงการที่จะดำเนินในโอกาสต่อไป
แนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์ที่ 3
กลยุทธ์ที่ 3.1 ส่งเสริมให้เกษตรกรมีองค์ความรู้ ด้านการจัดการฟาร์มสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติและแบ่งปันความรู้แก่เกษตรกรอื่น
– พัฒนาศักยภาพสมาชิกองค์กร (Smart Member)สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ, โอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูล เทคโนโลยี นวัตกรรม, การจัดการฟาร์ม
กลยุทธ์ที่ 3.2 ส่งเสริมให้กรรมการและพนักงานขององค์กรเกษตรกรและกลุ่มยุวเกษตรกรมีความรู้ในการจัดการองค์กรและการดำเนินธุรกิจ/กิจกรรมรวมทั้งการสร้างเครือข่าย
3.2.1 พัฒนากรรมการและพนักงานฝ่ายจัดการองค์กร (Smart Manager)
3.2.1 พัฒนาระบบบริหารองค์กร ( Smart management) ปรับระเบียบ ธรรมภิบาล
3.2.3 พัฒนาธุรกิจ ( Smart Business) ให้ครบโซ่อุปทาน มุ่งแปรรูปเพิ่มมูลค่า สนับสนุนสัมมาชีพต้นแบบรุ่นใหม่ด้านการจัดการฟาร์ม
กลยุทธ์ที่ 3.3 ติดตามและร่วมการดำเนินงานตามนโยบายเกษตรกรรมของส่วนราชการและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
– ติดตามข่าวสารโครงการตามนโยบายภาครัฐที่ลงสู่พื้นที่
– ประสานนำองค์กรเกษตรกรที่รวมตัวจัดตั้งไว้เสนอรับโครงการสนับสนุน
แนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์ที่ 4
กลยุทธ์ที่ 4.1 การจัดตั้งและสร้างความเข็มแข็งของเกษตรกร องค์กรเกษตรกรรายสินค้ารวมทั้งการสร้างเครือข่าย
4.1.1 กลุ่มองค์กรรายสินค้า กำหนดแผนธุรกิจแปรรูปขององค์กร
– เริ่มธุรกิจพัฒนาส่งเสริมอาชีพเป็นแกนนำ
ออมเงิน สินเชื่อ รวมซื้อ แปรรูป รวมขาย
4.1.2 จัดประชุมชี้แจงแผนธุรกิจแก่สมาชิก
– ชนิดผลผลิต วัตถุดิบเงินทุน
– เครื่องจักรกล เทคโนโลยี การบริหารจัดการ แหล่งตลาด ประมาณการรายจ่าย
ค่าใช้จ่าย
4.1.3 เตรียมจัดหาเงินทุน เครื่องจักรอุปกรณ์ และบุคลากร
กลยุทธ์ที่ 4.2การใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรสู่การแปรรูปขั้นต้นและ SME เกษตร
4.2.1 การประสานงานเพื่อนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาใช้แปรรูปสินค้า
4.2.2 ระบบงานและบุคลากรในธุรกิจแปรรูป
– มีกระบวนการผลิตที่ชัด ตั้งแต่คัดเลือกวัตถุดิบจนถึงการจำหน่าย
– บุคลากรมีความชำนาญด้านการแปรรูป
กลยุทธ์ที่ 4.3 การพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยการใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมขั้นสูง
- องค์กรเกษตรกรที่มีศักยภาพความพร้อมหรือร่วมทุนกับผู้ประกอบการอื่น
การแปลงยุทธศาสตร์สภาเกษตรกรแห่งชาติ ปี 2560 – 2564 ไปสู่การปฏิบัติ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างระบบการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ เกษตรกรที่มีปัญหาเดือดร้อนสามารถแจ้งและรับคำนะนำการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด
- ร้อยละ 70 ของจำนวนเรื่องปัญหาที่รับเรื่องไว้ แล้วสามารถดำเนินการแก้ไข หรือส่งต่อให้หน่วยงานรับผิดชอบ
- ร้อยละ70 ของจังหวัดเป้าหมายสามารถจัดตั้งศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวางแผนและแก้ปัญหา รวมทั้งสามารถขยายเครือข่ายสื่อสารไปยังอำเภอและตำบลเป้าหมาย
- ร้อยละ 70 ของจำนวนพนักงานสำนักงานฯและสมาชิกสภาเกษตรกรที่ผ่านการอบรมพัฒนาศักยภาพในการจัดเก็บวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดทำข้อเสนอแนวทางพัฒนาแก้ไขปัญหา มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้
กลยุทธ์
- พัฒนากระบวนการรับรู้ข้อเท็จจริงของปัญหา นำปัญหามาวิเคราะห์จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและเสนอหน่วยงานรวมทั้งติดตามผลการช่วยเหลือ
- การใช้เทคโนโลยีเครื่องมือ อุปกรณ์ในการสำรวจจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา
- เพิ่มประสิทธิภาพพนักงาน สมาชิกสภาเกษตรกรและคณะผู้ปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกรโดยรวดเร็ว
โครงการ
1 .โครงการพัฒนาศักยภาพการแก้ปัญหาเกษตรกร
1.1 กิจกรรมจัดตั้งศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อวางแผนและแก้ปัญหาทางการเกษตรประจำจังหวัด
1.2 กิจกรรมการสร้างเครือข่าย เช่น webpage, Facebook, Line Group เครือข่ายการตลาด, ห่วงโซ่อุปทาน และเครือข่ายเกษตรอินทรีย์
– : สภจ./สกจ.สสนก. หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอปท.
- โครงการฝึกอบรมสัมมนาพนักงานและสมาชิกสภาเกษตรกร หลักสูตร“พัฒนาศักยภาพในการจัดเก็บวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดทำข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหาการเกษตร”
– : สกช.
- กิจกรรมสนับสนุนประชุมเครือข่ายเกษตรกรระดับอำเภอ
– : สกช.
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาขีดความสามารถการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมที่สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม
เป้าประสงค์
ได้แผนพัฒนาเกษตรกรรมตำบลที่มีการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบและบูรณาการกับภาคีภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาอาชีพการเกษตรและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรอื่นๆ
ตัวชี้วัด
- ร้อยละ 70 ของตำบลเป้าหมายที่มีการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมตำบล มีการปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนการผลิตที่เหมาะสม และได้ปัญหาที่เดือดร้อนของเกษตรกรเพื่อจัดทำโครงการหรือข้อเสนอหน่วยงานต่อไป
- ร้อยละ 70 ของพนักงานสำนักงานฯ และสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด มีความรึความเข้าใจกระบวนการจัดทำแผนฯ คุณภาพ
กลยุทธ์
- พัฒนากระบวนการรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาในพื้นที่ การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อจัดทำโครงการ/กิจกรรมด้านการเกษตร
- พัฒนาบุคลากร พนักงาน สมาชิกสภาเกษตรกร และคณะผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรม
- การประสานหน่วยงาน ภาคีภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนโครงการ/กิจกรรมไปสู่การปฏิบัติรวมทั้งติดตามผล
โครงการ
1 .โครงการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมตำบลเป็นเกษตรอุตสาหกรรม
- กิจกรรมจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบล
– : สภจ./สกจ.คณะผู้ปฏิบัติงานเกษตรกรตำบล/อำเภอ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอปท. สถาบันการศึกษา
- โครงการอบรม/สัมมนาพนักงานสำนักงานฯ สมาชิดสภาเกษตรกรจังหวัดหลักสูตร “การใช้เทคโนโลยีและข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมตำบลแบบมีส่วนร่วม”
– :สกช.
- งานประจำ(การประสานงาน/การบูรณาการ)
– : สภจ./สกจ.คณะกรรมการและฝ่ายจัดการองค์กรเกษตรกรหน่วยงานราชการที่
เกี่ยวข้องอปท.
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข้งแก่เกษตรกร องค์กรเกษตรกร ยุวเกษตรกรและเครือข่าย
เป้าประสงค์
พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร
ตัวชี้วัด
- ร้อยละ 70 ของอำเภอเป้าหมายสามารถสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ด้านการจัดการฟาร์ม
- ร้อยละ 70 ของศูนย์สัมมาชีพต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งร้อยละของจังหวัดเป้าหมายสามารถสร้างนวัตกรรมเกษตรเกษตรได้และสามารถแพร่องค์ความรู้แก่เกษตรกรอื่น
- ร้อยละ 70 ของตำบลเป้าหมายที่จัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมตำบล มีการรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรเกษตรกรรายสินค้าเกษตรได้
กลยุทธ์
1.ส่งเสริมให้เกษตรกรมีองค์ความรู้ด้านการจัดการฟาร์ม สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติและแบ่งปันความรู้แก่เกษตรกรอื่น
2.ส่งเสริมให้กรรมการและพนักงานขององค์กรเกษตรกรและกลุ่มยุวเกษตรกรมีความรู้ในการจัดการองค์กรและการดำเนินธุรกิจ/กิจกรรมรวมทั้งการสร้างเครือข่าย
3. ติดตามและร่วมการดำเนินงานตามนโยบายเกษตรกรรมของหน่วยราชการและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
โครงการ
1.โครงการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมตำบลเป็นเกษตรอุตสาหกรรม
1.1 กิจกรรมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร องค์กรเกษตรกรรายสินค้าตามแนวทางเกษตรอุตสาหกรรม
– : สกช./สกจ.คณะกรรมการและพนักงานขององค์กรหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอปท.ภาคเอกชนสถาบันการศึกษาเกษตรกรสัมมาชีพต้นแบบปราชญ์เกษตรกร
2.โครงการสร้างนวัตกรรมเกษตรในจังหวัด
– : สกช./สกจ. คณะกรรมการและพนักงานขององค์กรหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอปท.ภาคเอกชนสถาบันการศึกษาเกษตรกรสัมมาชีพต้นแบบปราชญ์เกษตรกร
3.โครงการเสริมสร้างยุวเกษตรและเกษตรกรรุ่นใหม่
3.1กิจกรรมสร้างจิตสำนึกด้านการเกษตรในสถานศึกษา
3.2กิจกรรมสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ด้านการจัดการฟาร์ม
3.3กิจกรรมศูนย์สัมมนาชีพต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
– : สกช./สกจ. คณะกรรมการและพนักงานขององค์กรหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
อปท.ภาคเอกชนสถาบันการศึกษาเกษตรกรสัมมาชีพต้นแบบปราชญ์เกษตรกร
4.โครงการอบรมกรรมการ, พนักงาน, องค์กรเกษตรกรหลักสูตร “การจัดการธุรกิจขององค์กรเกษตรกร”
– : สกช./สกจ.
- งานประจำ(การประสานงาน/การบูรณาการ)
– : สกช./สกจ.คณะกรรมการและฝ่ายจัดการองค์กรเกษตรกรอปท.หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาสินค้าของเกษตรกรสู่เกษตรอุตสาหกรรม
เป้าประสงค์
องค์กรเกษตรกรรายสินค้าได้รับการพัฒนาธุรกิจขององค์กรมุ่งสู่เกษตรอุตสาหกรรม
ตัวชี้วัด
- ร้อยละ 17 ของจำนวนองค์กรเกษตรกรรายสินค้าเกษตรเป้าหมายที่จัดตั้งขึ้นสามารถพัฒนาการผลิต การแปรรูป และการตลาดสู่เกษตรอุตสาหกรรม
กลยุทธ์
- การจัดตั้งและสร้างความเข้มแข้งของเกษตรกรองค์กรเกษตรกรรายสินค้ารวมทั้งการสร้างเครือข่าย
- การใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรสู่การแปรรูปขั้นต้น และ SME เกษตร
- การพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่โดยการใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมขั้นสูง
โครงการ
1 .โครงการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมตำบลเป็นเกษตรอุตสาหกรรม
1.1 กิจกรรมสร้างความเข้มแข้งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรรายสินค้าตามแนวทางเกษตรอุตสาหกรรม
– : สภจ./สกจ.คณะกรรมการและพนักงานขององค์กรหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
สถาบันการศึกษาที่มีงานวิจัยการเกษตรภาคเอกชน
สรุปการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้บรรลุเป้าหมาย
1) สร้างความเข้าใจ ความร่วมมือและเผยแพร่ยุทธศาสตร์แก่สมาชิกสภา, พนักงาน, เครือข่ายสภาเกษตรกรตำบล/อำเภอ, หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2) สนับสนุนดำเนินงานโครงการตามยุทธศาสตร์สภาเกษตรกรแห่งชาติก่อนเป็นลำดับแรก
3) หากสภาเกษตรกรจังหวัดดำเนินโครงการที่ริเริ่มเพิ่มเติม ควรพิจารณาโครงการที่สนับสนุนยุทธศาสตร์ด้วย