สภาเกษตรกรจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรภายในจังหวัด
(๒) ประสานนโยบายและการดำเนินงานระหว่างองค์กรเกษตรกร เกษตรกร สถาบันวิจัยสถาบันการศึกษา และหน่วยงานของรัฐ
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มขององค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และยุวเกษตรกรในจังหวัด ในรูปแบบต่าง ๆ
(๔) เสนอแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติเพื่อบูรณาการเป็นแผนแม่บทเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
(๕) สนับสนนุและส่งเสริมการศึกษา การฝึกอบรม และการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรและ ยุวเกษตรกร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างครบวงจรและยั่งยืน
(๖) เสนอนโยบายและแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรมรวมทั้งราคาผลผลิตทางเกษตรกรรมที่ไม่เป็นธรรมต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติ
(๗) ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำแก่เกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกร
(๘) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการใด ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัตินี้
(๙) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากสภาเกษตรกรแห่งชาติ
ให้จัดตั้งสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดขึ้น
เรียกโดยย่อว่า “สกจ.”
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑) รับผิดชอบงานด้านธุรการ และทำหน้าที่เป็นเลขานุการของสภาเกษตรกรจังหวัด
(๒) รวบรวม ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัด
(๓) ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร ได้ทราบถึงนโยบาย แผนพัฒนาเกษตรกรรมจังหวัด และการดำเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัด
(๔) จัดใหม่ระบบฐานข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ผลงานการวิจัยและองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิต ผลผลิต การแปรรูป ผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม รวมทั้งการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
(๕) ประสานการดำเนินงานกับเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และหน่วยงานอันที่เกี่ยวของ
(๖) จดทำรายงานประจำปีของสภาเกษตรกรจังหวัด
(๗) ปฏิบัติหน้าที่อันใดตามที่สภาเกษตรกรแห่งชาติ และสภาเกษตรกรจังหวัดมอบหมาย