ดอกไม้ พันธุ์ไม้ประจำจังหวัด

ดอกไม้ประจำจังหวัดน่าน
ชื่อทั่วไป : เสี้ยวดอกขาว (เสี้ยวป่าดอกขาว)
ชื่อสามัญ : Orchid Tree, Purple Bauhinia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia variegata Linn.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ประเภท : ไม้ยืนต้น
ลักษณะวิสัย
ต้นสูง 5 – 10 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลม ใบเดี่ยวค่อนข้างกลม ปลายและโคนใบเว้า คล้ายใบแฝดติดกัน ใต้ใบมีขน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง 6 – 10 ดอก มี 5 กลีบคล้ายดอกกล้ายไม้มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี ดอกดกช่วงเดือนพฤศจิกายน – มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก

การขยายพันธ์
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม
เติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี ความชื้นสูง แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด
อินเดีย, มาเลเซีย

ประโยชน์
ฝักแก่ เนื้อในสีน้ำตาลดำ รสหวาน เอียน ใช้เป็นยาถ่าย การทื่เนื้อฝักคูนช่วยระบายได้ เพราะในเนื้อมีสาร แอนทราควิโนน อยู่หลายชนิด วิธีการใช้โดยการใช้เนื้อในฝักแก่สีน้ำตาลดำ ประมาณ 2 หัวแม่มือ น้ำหนัก 4-5 กรัม ต้มกับน้ำ เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มครั้งเดียวหมด ก่อนนอน หรือเช้ามืดก่อนรับประทานอาหาร เหมาะสำหรับผู้ที่ท้องผูกประจำ สตรีมีครรภ์ใช้ได้


พันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัดน่าน

เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานกล้าไม้มงคล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด นำไปปลูกเป็นสิริมงคล พันธุ์ไม้ประจำจังหวัดน่าน คือ “กำลังเสือโคร่ง”
ชื่อพื้นเมือง : กำลังพญาเสือโคร่ง กำลังเสือโคร่ง (เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ : Birch
ชื่อวิทยาศาตร์ : Betula alnoides Buch.-Ham.
วงศ์ : CUPULIERAE

ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้น สูง 20 – 35 เมตร วัดรอบลำต้นประมาณ 1 – 2 เมตร เปลือกไม้(ที่ยังไม่ลอก) มีสีน้ำตาลเทา หรือเกือบดำ มีรูระบายอากาศเป็นจัดขาวเล็กๆ กลม บ้างรีบางปะปนอยู่ เปลือกมีกลิ่นคล้ายการบูร เวลาแก่ จะออกเป็นชั้นๆ คล้ายกระดาษ ที่ยอดอ่อน ก้านใบและช่อดอกมีขนสีเหลือง หรือ สีน้ำตาล ปกคลุม หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือ แคบ ยาวประมาณ 3 – 8 มม.

ใบ
เป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมหอก หรือรูปหอก เนื้อใบบาง คล้ายกระดาษ หรือ หนา ด้านใต้ของใบมีตุ่ม โคนใบป้านเกือบเป็นเส้นตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยสองชั้นหรือสามชั้น ซี่หยักแหลม ปลายใบเรียวแหลม เส้นแขนงใบ 7 – 10 คู่

ดอก
ออกเป็นช่อยาวคล้ายหางกระรอก ออกตามง่ามใบแห่งละ 2 – 5 ช่อ ดอกย่อยไม่มีก้าน ช่อดอกเพศผู้ยาว 5 – 8 ซม. กลีบรองดอกเป็นรูปโล่หรือกลม มีแกนอยู่ตรงกลาง ปลายค่อนข้างแหลม มีขนที่ขอบเกสรเพศผู้ 4 – 7 อันติดอยู่ที่แกนกลาง ช่อดอกเพศเมียยาว 3 – 9 ซม. กลีบรองดอกไม่มีก้าน มี 3 หยัก ด้านนอกมีขน รังไข่แบน กรอบนอกเป็นรูปไข่ หรือเกือบกลม มีขน ท่อรังไข่ยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย

ผล
ผลแก่ร่วงง่าย แบน มีปีก 2 ข้างปีกบางและโปร่งแสง

แหล่งที่พบ
มักขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

การออกดอก
ระหว่างเดือน พฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์

การปลูกและบำรุงรักษา
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ชอบความชื้นน้อย

ประโยชน์ทั่วไป เนื้อไม้
ใช้ทำพื้นกระดาน ด้ามเครื่องมือเกษตรกรรม เครื่องเรือน ใช้ในการก่อสร้างต่างๆ

ประโยชน์ทางยา เปลือก
มีกลิ่นหอมคล้ายการบูร ใช้ต้มกับน้ำเป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ บำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ